ปัจจัยสำคัญในการกักตัวหรือการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เช่น COVID-19 หรือเชื้ออื่นๆ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ สถานที่นั่นเอง ดังนั้น ห้องความดันลบ ที่เราจะได้ยินการกล่าวถึง ทั้งในการแถลงข่าว กระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มีการพูดถึงเรื่องนี้มาก
ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับห้องนี้กันดีกว่า ว่าสำคัญอย่างไร??
——————————————
ห้องความดันลบ หรือ ห้องคลีนรูมแบบ Negative Pressure เป็นห้องพักสำหรับผู้ป่วยแบบแยกเดี่ยว ที่มีความดันอากาศภายในห้องต่ำกว่าภายนอก ซึ่งตามปกติ อากาศจะไหลจากที่ที่มีความดันอากาศสูงกว่าไปหาที่ที่มีความดันอากาศต่ำกว่า นั่นหมายความว่า อากาศภายในห้องผู้ป่วยซึ่งถูกทำให้มีความดันต่ำกว่า จะไม่ไหลออกจากห้องเมื่อมีการเปิด-ปิดประตู และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากในห้องไปสู่บริเวณอื่นๆ ในสถานพยาบาล ในบทความวิชาการชื่อ “การระบายอากาศของห้องคนไข้แบบแยกเดี่ยว” โดย ศาสตราภิชาน ทวี เวชพฤติ อธิบายว่า ห้องคนไข้แบบแยกเดี่ยวที่มีความดันในห้องเป็นลบ เป็นหนึ่งในรูปแบบของห้องสำหรับคนไข้แยกเดี่ยว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคทางอากาศ และมักนำมาใช้กับโรคที่ติดต่อทางอากาศได้ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคปอด ซึ่งมีโอกาสติดผู้ป่วยคนอื่นๆ และบุคลากรของโรงพยาบาลได้ง่ายหากไม่มีการแยกห้องที่ถูกต้อง นอกจากการควบคุมความดันอากาศให้เป็นลบ โดยมีความดันต่ำกว่าภายนอกไม่น้อยกว่า 2.5 Pascal เพื่อป้องกันเชื้อไหลออกจากห้องไปสู่ภายนอกแล้ว เอกสารของกองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุว่าจะต้องควบคุมทิศทางการไหลของอากาศจากสะอาดมากไปหาน้อยด้วย นอกจากนี้ อากาศที่ไหลออกจากห้องจะต้องผ่านการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงเจือจางและฆ่าเชื้อในอากาศก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก
เราเห็นถึงความสำคัญของ ห้องความดันลบ กันแล้ว ว่ามีความสำคัญมากอย่างไรกับการกักโรคติดเชื้อต่างๆ ซึ่งโรงพยาบาลส่วนมากจะมีห้องประเภทนี้อยู่บ้าง และเมือเกิดสถานการณ์ โรคไวรัส COVID-19 นี้ ปชช.ก็คาดหวังเอาไว้ว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาจจะต้องให้ความสำคัญที่จะต้องเพิ่มปริมาณทั้งบุคคลากรทางการแพทย์ , อุปกรณ์ต่างๆ , และสถานที่ที่จะต้องรองรับผู้ป่วยให้มากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-432674
รูปภาพจาก https://www.medicalplasticsnews.com/news/the-digital-transformation